โรงเรียนภัทรบพิตรที่อยู่คู่จังหวัดบุรีรัมย์มาช้านาน
ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์สั่งยกเลิกเปลี่ยนชื่อ รร.ภัทรบพิตร
บุรีรัมย์ 27 ม.ค. - ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ สั่งยกเลิกการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนภัทรบพิตร เป็นสวนกุหลาบวิทยาลัย บุรีรัมย์ หลังครู นักเรียน และศิษย์เก่าคัดค้าน
บรรยากาศที่โรงเรียนภัทรบพิตร จ.บุรีรัมย์ วันนี้เป็นไปตามปกติ หลังเมื่อวานนี้ (26 ม.ค.) ครู นักเรียน และศิษย์เก่า คัดค้านการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย บุรีรัมย์ ล่าสุดนายธานี สามารถกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ มีคำสั่งยกเลิกการเปลี่ยนชื่อดังกล่าวแล้ว เนื่องจากเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเพียงขั้นตอนการสอบถามความคิดเห็นเท่านั้น พร้อมสั่งผู้อำนวยการโรงเรียนภัทรบพิตร ไปชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะครู นักเรียน และศิษย์เก่า รวมทั้งผู้ปกครอง โดยจะไม่มีการทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้เรื่องบานปลายและสร้างความเสียหายให้กับชื่อโรงเรียน. - สำนักข่าวไทย
ไอ้ห่าผู้ว่า มันคิดไรของมันวะไม่มีหัวสมองรึงัยไอ้เปรต ภัทรบพิตร ชื่อนี้มันมีความหมายดีคู่บุรีรัมย์มานานก่อนพ่อมันจะเกิดอีก เสือกอยากเลียขาเจ้านายห้อย เปลี่ยนเป็นสวนกุหลาบ เปลี่ยนเป็นสวนกุหลาบ แล้วงัย มันจะทำให้อะไรอะไรมันดีขึ้นหรือต่ำลงยังงัยวะ อนาจหว่ะ ผู้ว่าบุรีรัมย์สมัยนี้ ไอ้ห้อยก็เหมือนกัน เคยเห็นมันตั้งแต่สมัยเป็น ส.ส.ใหม่ๆใส่เสื้อหม้อห้อม ผ้าขาวม้าผูกเอวไปเป็นประธานงานเผาศพตามวัดแถวบ้าน สงสัยอยู่กับไอ้เหลี่ยมจนเคยตัว ถ่อยลงทุกวัน ดีนะที่หันไปเอาดีทางทำทีมฟุตบอลก่อน ไม่งั้นคะแนนนิยมจากคนบุรีรัมย์คงติดลบ สัดเปรต
ปีนี้จึงถือได้ว่าเป็นปีแห่งความอัปยศของผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ชื่อว่า ธานี สามารถกิจ
ปีนี้จึงถือได้ว่าเป็นปีแห่งความอัปยศของผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ชื่อว่า ธานี สามารถกิจ
ประวัติโรงเรียนภัทรบพิตร
โรงเรียนภัทรบพิตรเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดกองการมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 สายบุรีรัมย์ – ประโคนชัยสืบเนื่องมาจากมีพระบรมราชโองการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 และขณะเดียวกันนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาประถมศึกษา มีความประสงค์ที่จะศึกษาต่อ ระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวนมากจึงทำให้โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งเดียวในเขตอำเภอเมือง ในขณะนั้นไม่สามารถรับนักเรียนได้เพิ่มอีก เพราะเต็มแผนการชั้นเรียนแล้ว ดังนั้น นายผดุงศักดิ์ อุดรพิมพ์ ศึกษาธิการจังหวัด นายกิตติ ณรัฐกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ได้ตกลงกันว่าจะจัดตั้งโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งที่ 2 และได้ประสานงานกับกรมสามัญศึกษา จนในที่สุดได้ประกาศจัดตั้งเมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 เดิมทางจังหวัดได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “บุรีรัมย์พิทยาคม 2” แต่ทางกรมสามัญไม่อนุมัติให้ใช้ชื่อนี้ ต่อมาศึกษาธิการจังหวัดได้เสนอชื่อ “ภัทรบพิตร” ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้อิงนามพระพุทธรูป “พระสุภัทรบพิตร” ซึ่งเป็นพระรูปศักดิ์สิทธิ์ องค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่บนยอดเขากระโดง ใกล้กับที่ตั้งโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดบุรีรัมย์แห่งที่ 2 จึงมีชื่อว่า “โรงเรียนภัทรบพิตร” ตั้งแต่นั้นมา ที่ดินของโรงเรียนได้รับการอนุเคราะห์จากแขวงการทางจังหวัดบุรีรัมย์ กรมทางหลวงแผ่นดิน อนุมัติให้ใช้ที่ดินจำนวน 85 ไร่ 73 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ตั้ง โรงเรียนโดยมีนายวสันต์ จันทร์บาล นายช่างแขวงการทางจังหวัดบุรีรัมย์ ประสานงานกับกรมทางหลวง ได้รับบริจาคเพิ่ม 13 ไร่ 2 งาน ในปี 2544 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2521 เป็นต้นมาโรงเรียนภัทรบพิตรได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทุกด้าน เพื่อให้เหมาะสมและเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ไว้ตอบสนองความต้องการของชุมชนที่อยู่ใกล้โรงเรียนภัทรบพิตร เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้และให้บริการได้มาจากงบประมาณความช่วยเหลือจากทาง ราชการและบางส่วนได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน ได้ช่วยเสียสละ กำลังทรัพย์สิน สติปัญญา ช่วยเหลือ โรงเรียนตลอดมาทุกปี จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนภัทรบพิตรได้ก่อตั้งและจัดการเรียนการสอนมาแล้ว 31 ปี
ชื่อโรงเรียน
ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ในขณะนั้นได้เสนอชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนภัทรบพิต” ไปที่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้นับอนุมัติให้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “ภัทรบพิตร” อันเป็นการอิงพระนามของพระสุภัทรบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่บนเขากระโดงที่อยู่ใกล้กับบริเวณโรงเรียน