การใส่คอนแทคเลนส์ ทำให้การส่งผ่านออกซิเจนระหว่างอากาศกับกระจกตาดำลดล ง (กระจกตาดำต้องการออกซิเจนจากหน้าสัมผัสกับอากาศภายนอ กโดยการละลายของออกซิเจนในน้ำตาผ่านเข้าไป) ดังนั้น ผู้ใช้คอนแท็กเลนส์บางคนที่มีการสร้างน้ำตาบกพร่อง (ไม่ว่าจะเป็นในแง่ปริมาณ และ/หรือคุณภาพของน้ำตา) ทำให้การส่งผ่านออกซิเจน-น้ำตา-กระจกตาดำลดลง
ซึ่งผลก็คือ กระจกตาดำขาดอากาศหายใจ ทำให้เซลล์เยื่อบุผิวกระจกตาดำซึ่งมีบทบาทในการทำให้ กระจกตาดำคงความใสอยู่ ได้ตลอดเวลา ลดจำนวนลงไป ภูมิคุ้มกันของตา โดยเฉพาะ บริเวณกระจกตาดำลดลงไป เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้น สำหรับอัตราของผู้ใช้คอนแทคเลนส์ โดยดูแลอย่างถูกต้อง (ไม่ใส่ค้างคืน ไม่ขี้เกียจล้าง) อยู่ที่ ๑:๒๐๐:๑ ปี (ใน ๑ ปี คนใช้คอนแท็กเลนส์ อย่างถูกวิธี ๒๐๐ คน จะมี ๑ คน ที่เกิดการติดเชื้อทั้งที่รุนแรงและไม่รุนแรง)
การใส่คอนแทคเลนส์เมื่อมีการติดเชื้ออย่างอ่อนๆ อาจมีอาการเพียงการคัน ระคายเคือง หรือมีน้ำตาไหลเท่านั้น ทำให้ร่างกายพยายามเอาระบบภูมิคุ้มกันมายังกระจกตาดำ (ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยงโดยสิ้นเชิง) มาก ขึ้น หลอดเลือดที่เยื่อบุตาขาวจะขยายตัว ในผู้ที่เกิดการระคายเคืองการแพ้สารที่อยู่ในน้ำยาสา รพัดอย่าง มีการขยายตัวของหลอดเลือดนี้ได้บ้างเหมือนกัน บางรายหลอดเลือดถึงกับงอกไปบนกระจกตาดำเลยทีเดียว
ในบางประเทศ ทุกคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ต้องได้รับการตรวจพื้นฐาน ได้แก่ ความโค้งของกระจกตา (คอนแท็กเลนส์มีหลายความโค้ง การเลือกความโค้งให้เหมาะกับตาแต่ละคนก็เป็นเรื่องสำ คัญ) ตรวจ คุณภาพน้ำตา และโรคตาที่อาจยังไม่แสดงอาการก่อนที่จะเริ่มใส่คอนแ ทคเลนส์ และในบางคนอาจได้รับคำแนะนำให้เลือกใช้วิธีแก้ไขสายต าอย่างอื่นแทน ทั้งที่ดูๆ เขาก็เป็นคนปกติ ไม่เคยมีปัญหาเรื่องตามาก่อน
แต่ พอหันกลับมาดูที่ประเทศไทย คอนแทคเลนส์นั้นหาซื้อได้ง่ายถึงขั้นที่ว่าขายกันอยู ่ตีนบันไดทางขึ้น – ลง รถไฟฟ้า วัยรุ่นก็ให้ความนิยมหาซื้อกันมาใส่ ถูกผิดก็ลองๆ กันไป...มีปัญหาค่อยหาหมออีกทีแบบพี่เหมี่ยวว่าไม่คุ้มเลยนะค ะ เสียเงินได้ของไม่มีคุณภาพมาใช้แล้วยังต้องเสี่ยงอัน ตรายอีก