อึ' ให้ดี ไม่มีตกค้าง ? | คลังความรู้เล็กๆ รู้อะไรมาก็ใส่ลงไป

อึ' ให้ดี ไม่มีตกค้าง ?

 
 
เมื่อเร็วๆนี้ผู้เขียนได้รับอีเมลฉบับหนึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ "อันตรายจากอุจจาระตกค้าง" ระบุว่า

หากคนเราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กินอาหารที่มีกากใยน้อย
มีพยาธิ หรือ เชื้อรา ระบบดูดซึมเสีย ไม่ถ่ายอุจจาระเวลา 05.00-07.00 น. เช้า หรือ หากถ่ายอุจจาระ หลังเวลา 7 โมงเช้า ลำไส้จะบีบ ให้อุจจาระขึ้นไปข้างบน เวลาถ่าย จะถ่ายไม่หมด อุจจาระที่ค้าง ก็จะเกาะที่ผนังลำไส้ พอมีอุจจาระใหม่ที่เหลวกว่า มันก็แซงหน้าไปก่อน แต่มันไม่สามารถดันพวกที่ค้างแข็งให้ออกไปได้ พวกที่ ค้างแข็งไว้ ก็เกาะติดแน่นไปเรื่อย ๆ อุจจาระตกค้างจะไปทับเส้นเลือดต่าง ๆ ในกระเพาะและกดทับกระดูกหลัง ทำให้เกิดอาการมากมาย เช่น ท้องอืด ปวดหลัง ปวดขา ปวดกล้ามเนื้อที่ไหล่และสะบัก เวียนหัว อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เป็นฝ้า ไมเกรน และอื่น ๆ

เพื่อให้ผู้อ่านหายข้องใจ นพ.กฤษดา ศิรามพุช
ผอ.สถาบัน เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ จะมาไขข้อข้องใจให้ทุกคนได้รับทราบ

นพ.กฤษดา อธิบายว่า เรื่องอุจจาระตกค้าง
หรือ อึค้างเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ทุกคน เราอาจตรวจสัญญาณ   อึค้างในลำไส้ใหญ่ได้เองง่ายๆ โดยการนอนหงายแล้วเอามือคลำท้องด้านซ้ายล่าง เลยสะดือไปทางซ้ายหน่อย แล้วเอานิ้วทั้ง 5 ลองกดดูจนลึกเต็มที่เลื่อนไปมา ถ้ามีอึค้างอยู่จะคลำได้เป็นลำคล้ายแท่งยาว ๆ อยู่ตามรูปลักษณ์ของ  ลำไส้ โดยลำไส้ใหญ่นี้จะยิ่งคลำได้ชัดในคนที่ผอม สำหรับคนเจ้าเนื้ออาจต้องใช้เทคนิคนอนแล้วแขม่วพุงช่วยแล้วค่อยคลำจะชัดขึ้น ที่จริงเรื่องการอึที่ดูเหมือนเป็นกิจวัตรธรรมดาไม่มีอะไรนั้น มันต้องมีการฝึกเข้าส้วมกันบ้างให้ติดเป็นนิสัย

กลุ่มคนที่มักมีปัญหาเรื่องอึค้าง
ได้แก่  

1.
เด็กเล็กที่ให้กินนมแล้วนอนเลย ไม่พาอุ้มพาดบ่าลูบหลัง หรือไม่พาขยับตัวกลิ้งไปมาสักนิดหน่อยให้ไส้ได้บีบตัวบ้าง และในเด็กที่อึแข็งมาก อึนี่อาจแข็งถึงกับบาดรูก้นได้เป็นแผล แล้วครั้งต่อไปเด็กจะไม่อยากอึออกมาเพราะกลัวเจ็บ แผลแยก เลยยิ่งกลั้น  พอยิ่งกลั้นอึก็ยิ่งแข็งค้างไปเรื่อย

2.
คนที่ผ่าตัดบ่อย จะมีพังผืดไปรัดลำไส้ข้างในนุงนังทำให้บีบตัวไม่ดีอาจมีอึค้างอยู่ตามซอกโน้นซอกนี้ในลำไส้
จนบางท่าน กลายเป็นลำไส้อุดตันไปได้ก็มี

3.
ผู้สูงอายุและคนไข้นอนโรงพยาบาล ที่ไม่ค่อยได้ขยับตัวลุกเดิน

4.
คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายแถมกลั้นอึบ่อย โดยเฉพาะท่านที่ทำงานออฟฟิศต้องนั่งแปะอยู่กับที่นาน
หรืองานเข้าบ่อยต้องขอผลัดเข้าห้องน้ำไปเรื่อยๆก็ไม่ดีครับ

5.
ท่านที่มีลำไส้ยาว คือยิ่งยาวก็ยิ่งเป็นไซโลเก็บอึไว้ได้นานขึ้น บางท่านจะสังเกตว่าผักก็กินเยอะ
แต่อึแค่สัปดาห์ละหนเท่านั้น  

สำหรับเทคนิค
"อึให้ดี ไม่มีตกค้าง" มีดังนี้

1.
อย่าอั้นอึตอนเช้า เพราะถ้าเลยเช้าไปแล้ว กว่าร่างกายจะส่งสัญญาณให้ปวดอีกอาจจะนานจนผิดเวลา

2.
อึให้ตรงกับเวลาเดิม เหมือนเป็นการช่วย "โปรแกรม ลำไส้" ให้คอยบีบไล่อึออกมาสม่ำเสมอก็จะไม่ค้างครับ

3.
รอจังหวะขณะอึ ถ้าขณะนั่งห้องน้ำถ่ายหนัก อยู่ ถ้าไม่ปวดอย่าเบ่งครับ ให้ลองจับสังเกตว่ามันจะ"ปวดเป็นช่วงๆ"
แล้วก็คลายไปแล้วประเดี๋ยวก็ปวดบีบขึ้นมาอีก นั่นเป็นเพราะลำไส้คนบีบตัวเป็น ลูกคลื่นเหมือนงูเลื้อย
ถ้ามันเลื้อยมาถึงตรงอึพอดีมันจึงปวดขึ้นมา ถ้าเบ่งตอนไม่ปวดจะเหมือนเป็นการ "แกล้งลำไส้"
ให้เกิดแรงดันขึ้นมาโดยใช่เหตุเกิดโป่งพองขึ้นมาได้ "ริดสีด?งทวาร" เป็นของแถม

4.
นวดลำไส้ ถ้าในเด็กให้นวดรอบสะดือ ในผู้ใหญ่ให้นวดตรงท้องด้านล่างซ้ายเลยสะดือไป นวดเบาๆ
ไปมาแล้วทิ้งไว้สักพักจะรู้สึกปวดถ่ายขึ้นมา

5.
เอามือกดท้องด้านซ้ายล่างขณะถ่าย หรือจะลุกขึ้นนั่งยองเอาหน้าขาเป็นตัวกดไล่อึออกมา
เพราะที่จริงแล้วการอึที่ดีตามธรรมชาติของคนคือ"นั่งยอง" เพราะจะได้มีแรงกดจากหน้าขาด้วย
การที่ฝรั่งเอาส้วมแบบนั่งมาให้เราใช้เป็นการผิดธรรมชาติมนุษย์ที่จะไม่มีแรงเบ่งอึมากในท่านั่งห้อยขาทำให้คนเอเชียกลายเป็นทั้งริดสีดวงและท้องผูกมากเหมือนฝรั่งด้วย

6.
ลุกขึ้นเดินไปมา จะทำให้ไส้บีบตัวดี สักพักไส้จะบีบรีดเอา "อึท้ายขบวน" ที่เหลือออกมาแล้วเราจะรู้สึกปวดเบ่งอีกที

ไม่ว่าใครก็ตามถ้าความถี่ในการอึน้อยกว่า
 3  ครั้งต่อสัปดาห์ถือว่า "ท้องผูก"
นอกจากออกกำลังกายแล้วอาจใช้อาหารล้างลำไส้ช่วยได้ คือ

1.
น้ำมะขามเปียกก้นครัว  
2.
ลูกพรุนแห้งรับประทานทั้งผล เพราะจะได้กากด้วย ไม่ต้องแยกกินแต่น้ำ ยกเว้นถ้าเป็นเด็ก  
3.
แอปเปิ้ลเขียว กินทั้งผลหรือปั่นทั้งกากก็ได้
4.
ถั่วดำ จัดเป็นอาหารล้างพิษได้ด้วย
5.
สับปะรดและมะละกอที่มีน้ำย่อยช่วยกัดกากคราบโปรตีนเก่า ๆ ที่ถูกย่อยไม่หมดและจะมีสภาพติด
เป็นอุจจาระยางเหนียวสีดำคล้ายกับ  "จาระบี"  
6.
ให้เลี่ยงการ  ดื่มน้ำเย็นในตอนเช้า โดยให้ดื่มน้ำปกติหรือน้ำอุ่นตอนเช้าขณะตื่นมาท้องว่างจะช่วยให้ไส้บีบรัดตัวได้
ชวนให้ปวดอึขึ้นมาได้ดีทีเดียว

นพ.กฤษฎา
 ศิรามพุช

 




 

Related Articels

0 ความคิดเห็น

Leave a Reply


Copyright © 2017 อธิราช | Designed by 4x100Utd